วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

งานประจำปี ฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพระยาแล
ศาลากลางจังหวัดและสี่แยกอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล

จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงถึงคุณงามความดีของเจ้าพ่อพระยาแลผู้สร้างเมืองชัยภูมิคนแรก ระหว่างวันที่ 12-20 มกราคมของทุกปี โดยจะมีการบวงสรวงดวงวิญญาณของเจ้าพ่อพระยาแล มีขบวนแห่สักการะ ขบวนถวายช้าง และขบวนแห่ของอำเภทต่างๆ รวมทั้งการออกร้าน ประกวดพืชผลางการเกษตร

 ประเพณีรำผีฟ้า
จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 5 คือเดืนอเมษายน วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา เป็นการรำบวงสรวงเป็นกลุ่มๆ ที่ภูพระ ซึ่งมีพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปแกะสลักหินทราย สูงประมาณ 2 เมตร ชาวบ้านถือว่าศักดิ์สิทธิ์มากๆ

งานแห่เทียนเข้าพรรษา                  
จัดขึ้นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ประมาณเดือนกรกฏาคม มีการประกวดเทียนเข้าพรรษาซึ่งมีการแกะสลักอยางสวยงาม เป็นที่สำคัญและน่าสนใจมากของจังหวัด

 งานบุญบั้งไฟ
หรือบุญเดือนหก จัดประมาณเดือนพฤษภาคม
และยังมีงานประเพณีอื่นๆอีกมากมาย

บุคคลสำคัญของจังหวัดชัยภูมิ

      พระยาภักดีชุมพล (แล)  คนทั่วไปนิยมเรียกว่า เจ้าพ่อพระยาแล รับราชการอยู่ในสำนักเจ้าอนุวงศ์ ในตำแหน่งพี่เลี้ยงราชบุตรเจ้าอนุวงศ์ ต่อมาท้าวแลได้อพยพครอบครัว และบริวารเดินทางข้ามแม่น้ำโขง ที่ท่าเมืองชัยบุรี เข้ามาถึงเมืองหนองบัวลำภู เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๐  แล้วมาตั้งหลักแหล่ง ที่บ้านน้ำขุ่นคลองอีสาน (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา)  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๖๒  ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่โนนน้ำอ้อมชีลอง  (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ) ท้าวแล ได้ส่งส่วยอากรผ้าขาว เกณฑ์ชายฉกรรจ์ ไปบรรณาการแก่เจ้าอนุวงศ์ จึงได้รับปูนบำเหน็จให้มีบรรดาศักดิ์ เป็น ขุนภักดีชุมพล ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๖๕ มีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนเพิ่มขึ้น  ขุนภักดี ฯ จึงได้อพยพผู้คนมาตั้งถิ่นฐาน อยู่ระหว่างบ้านหนองหลอดกับบ้านหนองปลาเฒ่า ให้ชื่อบ้านใหม่ว่า บ้านหลวง ปี พ.ศ.๒๓๖๗ ขุนภักดี ฯ ได้นำทองคำพร้อมส่วยฤชากร ชายฉกรรจ์ ไปบรรณาการแก่เจ้าอนุวงศ์ และขอให้เจ้าอนุวงศ์ตั้งชื่อเมืองที่ตนตั้งรกรากอยู่ เจ้าอนุวงศ์ได้ตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองชัยภูมิ แล้วได้นำทองคำพร้อมส่วยของขุนภักดี ฯ ไปถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกราบบังคมทูล ขอเลื่อนบรรดาศักดิ์ขุนภักดี ฯ เป็นพระยาภักดีชุมพล และยกบ้านหลวงเป็นเมืองชัยภูมิ ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ตามที่ขอพระราชทาน พระยาภักดีชุมพลได้รับสาส์นด้วยความปลื้มปิติ พร้อมกับประกาศแก่ประชาชนให้มาร่วมรับทราบ และตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระพุทธศาสนา และชาติไทยจนชั่วชีวิต

ภิกษุสงฆ์
นักแสดง
นักมวย
นักร้อง

พระยาฤทธิฤาชั
      พระยาฤทธิฤาชัย  ในปี พ.ศ.๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏยกกองทัพมากวาดต้อนผู้คนในหัวเมืองภาคอีสาน และเข้ายึดเมืองนครราชสีมา
                ในครั้งนั้น ขุนพลนายด่านบ้านช่วนทราบข่าวกบฏ จึงได้ยกกำลังไปสมทบช่วยปราบกบฏได้คุมครัวไทยส่วนหนึ่งที่อยู่ที่บ้านมะเริ่ง ขุนพลนายด่าน ฯ ได้แต่งหนังสือหลอก ส่งเข้าไปในค่ายเจ้าอนุวงศ์ มีใจความว่า "ขณะที่ลาวกำลังกวาดต้อนผู้คนอยู่ที่เมืองนครราชสีมานี้ กองทัพเมืองเชียงใหม่ ได้ยกไปกวาดต้อนครัวเมืองเวียงจันทน์แล้ว"
                หลังจากนั้น ขุนพลนายด่าน ฯ ได้ให้คนถือหนังสือไปถึงพระยาปลัด และกรมการเมืองนครราชสีมา เพื่อนัดวันเข้าตีกองทัพเวียงจันทน์ และตัวขุนพลนายด่าน ฯ จะช่วยยกกำลังเข้าตีกระหนาบอีกด้านหนึ่ง แต่ยังไม่ทันเข้าโจมตีก็ได้ทราบข่าวว่า เจ้าอนุวงศ์ถอยทัพออกจากเมืองนครราชสีมา ขุนพลนายด่าน ฯ จึงได้นำกำลังเข้าสมทบ กับกองทัพหลวงจากกรุงเทพ ฯ สู้รบกับฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ต่อไป
                เมื่อเสร็จการปราบกบฏแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานบำเหน็จความชอบขุนพลนายด่าน ฯ เป็นพระยาฤทธิฤาชัย และให้ยกฐานะด่านช่วน ขึ้นเป็นเมืองบำเหน็จณรงค์ ให้พระยาฤทธิฤาชัยเป็นเจ้าเมืองบำเหน็จณรงค์ ถือศักดินา ๑,๐๐๐ ไร่ พระราชทานเครื่องยศ ถาดหมาก คณโฑเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบก้านแย่งตัวหนึ่ง แพรศรีติจ์ครีบผืนหนึ่ง แพรขาวห่มผืนหนึ่ง ผ้าส่านวิลาตผืนหนึ่ง ผ้าม่วงจีนผืนหนึ่ง

สินค้า OTOP และสินค้าพื้นเมือง

                                                   หม่ำ OTOP ของดีเมืองชัยภูมิ

หม่ำชัยภูมิ ได้ขื่อว่า "หม่ำตำนานรัก”แห่งเดียวของไทย ที่พรานป่าไปล่าสัตว์บนภูเขียว –ภูคิ้งในอดีต ซึ่งต้องใช้เวลานาน 1-3 เดือน ในการเดินทางไป-กลับ พอล่าสัตว์ป่าได้ ก็คิดหาวิธีถนอมอาหารมาฝากลูก-เมีย ที่รออยู่บ้าน โดยที่เนื้อสัตว์ไม่เน่าเสีย  พรานจึงสับเนื้อ ผสมตับ คลุกข้าวเหนียวและเกลือที่พกติดตัวไป ยัดใส่ในกระเพาะของสัตว์ หรือลำไส้ของสัตว์ เพื่อหมักหรือถนอมให้เก็บไว้ได้นาน เพื่อเป็นของฝากภรรยา พอกลับถึงบ้านนำมาชิม ปรากฏว่า มีรสชาติอร่อย เป็นที่ชอบใจภรรยา จึงถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมรับประทาน สืบมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ – ปัจจุบัน "หม่ำ” จึงเป็นอาหารพื้นเมืองชัยภูมิ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในปัจจุบันนิยมทำจากเนื้อวัว หรือเนื้อหมู ผสมกับตับ กระเทียม เกลือ บดให้ละเอียด บรรจุไว้ในกระเพาะสัตว์ เนื่องจากเป็นการแปรรูปอาหารจากภูมิปัญญาที่เก็บไว้นานถึง 3 เดือน เป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุดทั้งในและต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสานและนิยมซื้อเป็นของกินของฝากชั้นนำสัญลักษณ์ที่สำคัญจังหวัดชัยภูมิ เพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก
ส่งผลให้หม่ำ เป็นสินค้า OTOP ประเภทอาหารพื้นบ้านที่สำคัญ ได้รับการรับรองตราอาหารปลอดภัย และ อย. จาก สสจ.ชัยภูมิ จุดเด่น หม่ำชัยภูมิ เป็นพก โดยใช้กระเพาะหมู บรรจุเพื่อให้เก็บรักษาคุณภาพได้นาน และรสชาติอร่อย แหล่งผลิตและจำหน่ายที่มีชื่อเสียงได้แก่ที่บ้านบัว อ.เกษตรสมบูรณ์ , อ.ภูขียว , ช่องสามหมอ อ.คอนสวรรค์ และ บริเวณห้าแยกโนนไฮ เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ


                                                                  ผ้าไหมบ้านเขว้า

ผ้าไหมบ้านเขว้า โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหม อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ  มีความสวยงาม และคุณภาพ OTOP ระดับ 5 ดาว ราคาถูก คุณภาพเยี่ยม ส่งออกทั่วโลก มีทั้งเสื้อ กางเกง กระโปง กระเป๋า และอื่นๆ มากมาย

โบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยว

                                                                           ปรางค์กู่

ปรางค์กู่ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 202 (ชัยภูมิ-บัวใหญ่) ประมาณ 1 กิโลเมตร มีทางแยกขวาเข้าปรางค์กู่ตามทางหลวง 2158 เป็นระยะทางอีก 2 กิโลเมตร
ปรางค์กู่เป็นปราสาทหินสมัยขอม ที่มีแผนผังและลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทอื่นที่เป็น อโรคยาศาล หรือสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 นั่นคือ มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง 1 องค์ วิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้า 1 หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ 1 สระ ปรางค์ประธานมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังติดอยู่ จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือหน้ากาล ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกันแต่ลบเลือนไปมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือ มีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวารวดี สูง 1.75 เมตร ประดิษฐานอยู่ โดยเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ชาวชัยภูมิให้การเคารพสักการะ มีการจัดงานประจำปีในช่วงกลางเดือน 5 ของทุกปี

                                                                 ใบเสมาบ้านกุดโง้ง

ใบเสมาบ้านกุดโง้ง เก็บรักษาอยู่ภายในบริเวณโรงเรียนวัดกุดโง้ง ตำบลกุดตุ้ม จากตัวเมืองชัยภูมิไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปอีก 3 กิโลเมตรถึงบ้านกุดตุ้ม แล้วแยกขวาเข้าเส้นทางสาย กุดตุ้ม-บุ่งคล้า อีก 4 กิโลเมตร ใบเสมาหินทรายศิลปทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-15 ที่พบเป็นจำนวนมากในบริเวณรอบๆ หมู่บ้านได้ถูกนำมารวบรวมไว้ในอาคารอย่างเป็นระเบียบ ส่วนมากมีลักษณะเป็นแผ่นใหญ่ ด้านหน้าจำหลักลายและบางแผ่นมีจารึกอยู่ที่ด้านหลังด้วย ลวดลายที่ปรากฏเป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนา เล่าเรื่องชาดกตอนต่างๆ หรือเป็นภาพรูปเคารพ เช่น ภาพพระโพธิสัตว์ประทับยืนบนดอกบัว ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ใต้ต้นโพธิ์ นับเป็นกลุ่มเสมาที่สวยงามแห่งหนึ่งในอีสาน

                                                                อุทยานแห่งชาติไทรทอง

อุทยานแห่งชาติไทรทอง ครอบคลุมพื้นที่ป่าบนเทือกเขาพังเหย ในอำเภอหนองบัวระเหว เทพสถิต ภักดีชุมพล และหนองบัวแดง มีเนื้อที่ 319 ตารางกิโลเมตร เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลำห้วยหลายสาย ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำชี สภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ผสมกับป่าเบญจพรรณ มีต้นไผ่รวกขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์สวยงาม ภายในเขตอุทยานฯ มีสถานที่น่าสนใจคือ

น้ำตกไทรทอง ห่างจากที่ทำการ 1 กิโลเมตรไปตามทางรถยนต์และเดินเท้าอีก 400 เมตร เป็นน้ำตกชั้นเตี้ยๆ สูงเพียง 5 เมตรแต่มีความกว้างประมาณ 80 เมตร ด้านหน้าเป็นแอ่งน้ำใหญ่ สามารถลงเล่นน้ำได้ เหนือน้ำตกมีวังน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า วังเงือก สายน้ำไหลไปตามแก่งหินที่ลาดต่ำลงที่ละน้อย มีความยาวไม่ต่ำกว่า 100 เมตร

น้ำตกชวนชม อยู่เหนือน้ำตกไทรทองไปตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 2 กิโลเมตร น้ำตกมีความสูง 20 เมตร รอบบริเวณมีต้นไม้ร่มรื่น

ผาพ่อเมือง เป็นแนวหน้าผาตามสันเขาพังเหยด้านตะวันตก ตามเส้นทางขึ้นสู่ทุ่งบัวสวรรค์ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 700-900 เมตร มองลงไปเป็นตัวอำเภอภักดีชุมพลและเทือกเขาพญาฝ่อ ที่กั้นระหว่างชัยภูมิกับเพชรบูรณ์

ผาหำหด ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นสันเขาตรงจุดสูงสุดของเทือกเขาพังเหย สูงจากระดับน้ำทะเล 864 เมตร เป็นจุดชมวิวมองเห็นทิวทัศน์สวยงาม และมีชะง่อนหินยื่นออกไปจากหน้าผา เป็นจุดที่ถ่ายภาพได้สวยงามน่าหวาดเสียว

จุดชมวิวเขาพังเหย อยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 (ชัยภูมิ-นครสวรรค์) ประมาณกิโลเมตรที่ 70 เป็นที่แวะพักรถยนต์และชมทิวทัศน์ของผืนป่าและแนวสันเขาสลับซับซ้อนของเขาพังเหย เมื่อมองลงไปเบื้องล่างจะเห็นที่ราบภาคกลางในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะในช่วงยามเย็นที่อาทิตย์จะอัสดง
อุทยานฯ มีบ้านพักรับรองและสถานที่กางเต็นท์พักแรม และร้านอาหารบริการ ติดต่ออุทยานแห่งชาติไทรทอง ตู้ ปณ. 1 อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ 36230 โทร. 08 9282 3437 www.dnp.go.th

การเดินทาง จากตัวเมืองชัยภูมิใช้ทางหลวงหมายเลข 225 (ชัยภูมิ-นครสวรรค์) ประมาณ 65 กิโลเมตร มีป้ายบอกทางแยกขวาไปที่ทำการอุทยานฯอีก 7 กิโลเมตร

                                                         อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

ตั้งอยู่บนเทือกเขาพังเหย ภูมิประเทศเป็นเนินเขาสลับซับซ้อน ระดับความสูงประมาณ 200-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ มีความหลากหลายของระบบนิเวศและมีไม้ดอกจำพวกดุสิตา เอนอ้าและกล้วยไม้ ขึ้นอยู่จำนวนมาก จุดท่องเที่ยวในเขตอุทยานได้แก่
ทุ่งดอกกระเจียว หรือ ทุ่งบัวสวรรค์ เหมาะมาเที่ยวชมในช่วงฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน-สิงหาคม บนท้องทุ่งหญ้าเพ็กสีเขียวจะมีดอกกระเจียวสีชมพูอมม่วงขึ้นแซมอยู่ทั่วไป มองดูสวยงามมาก ห่างจากที่ทำการอุทยานประมาณ 1 กิโลเมตร

ลานหินงาม เป็นบริเวณที่มีโขดใหญ่รูปร่างแปลกๆ กระจายอยู่เต็มไปหมดในเนื้อที่กว่า 10ไร่ เกิดจากการกัดเซาะของเนื้อดินและหินเป็นรูปลักษณ์แตกต่างกัน สามารถจินตนาการเป็นรูปต่าง ๆ เช่น หินรูปตะปู รูปเรด้าร์ รูปแม่ไก่ รูปถ้วยฟีฟ่า ฯลฯ



 
                                                                          มอหินขาว

มอหินขาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติภูแลนคา ตั้งอยู่ที่บ้านวังคำแคน หมู่ 9 ตำบลท่าหินโงม อำเภอเมือง เป็นกลุ่มหินทรายสีขาวขนาดใหญ่กลางทุ่งหญ้าบนเนินเขา มองเห็นได้เด่นชัดในระยะไกล ลักษณะคล้ายสโตนเฮ็นจ์ (Stonehenge) ของประเทศอังกฤษ มีอายุระหว่าง 197-175 ล้านปี เกิดจากการสะสมของตะกอนทรายแป้ง และดินเหนียวจากทางน้ำ ต่อมาสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง การตกตะกอนเปลี่ยนเป็นทราย ในสภาวะอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งร้อนชื้น ทับถมลงบนตะกอนทรายแป้งและดินเหนียวที่เกิดก่อน จึงแข็งตัวกลายเป็นหิน หลังจาก 65 ล้านปีที่ผ่านมา เกิดการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกจากแรงบีบด้านข้างทำให้มีการคดโค้ง แตกหัก ผุพังและการกัดเซาะทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ก่อให้เกิดลักษณะของเสาหินและแท่งหินอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งมีรูปร่างและลักษณะแตกต่างกันออกไป ตามจินตนาการของผู้พบเห็น บริเวณรอบๆนั้นยังมีกลุ่มหินอีกหลายแห่งซึ่งสามารถเดินศึกษาธรรมชาติได้ ทั้งยังเป็นพื้นที่ศึกษาสังคมของพันธุ์พืชต่างๆ สัตว์ป่าขนาดเล็ก แมลงและเป็นแหล่งป่าต้นน้ำลำธารภูแลนคาซึ่งชาวบ้านทำฝายกั้นน้ำกักเก็บไว้ใช้
การเดินทางไปชมแหล่งท่องเที่ยวผามอหินขาว จากตัวจังหวัดชัยภูมิ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2051 ถนนสายชัยภูมิ – ตาดโตน เป็นทางลาดยางระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายก่อนถึงด่านของอุทยานแห่งชาติตาดโตน ตามถนนตาดโตน – ท่าหินโงม เป็นทางลาดยางประมาณ 12 กิโลเมตร แยกซ้ายตามถนนแจ้งเจริญ – โสกเชือก เป็นทางลูกรัง ระยะทาง 6.5 กิโลเมตรถึงบ้านวังคำแคน จากนั้นเลี้ยวขวาตรงบ้านวังคำแคน เป็นทางลูกรังใช้สำหรับขนพืชไร่อีกประมาณ 3.5 กิโลเมตร ถึง กลุ่มหินชุดแรกของ มอหินขาว รวมระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตรจากตัวเมือง ในช่วงฤดูฝนควรใช้รถยนต์ประเภทรถกระบะหรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อ เพื่อความเหมาะสมกับเส้นทาง ถัดจากกลุ่มหินชุดแรกไปเล็กน้อยจะถึงบริเวณลานกางเต็นท์ มีห้องน้ำบริการ จากจุดนี้มีเส้นทางเดินไปยังกลุ่มหินและจุดชมวิว ได้แก่ หินเจดีย์โขลงช้าง ระยะทางเดินเท้า 650 เมตร ลานหินต้นไทร 900 เมตร สวนหินล้านปี 1,250 เมตร และจุดชมวิวผาหัวนาค 2,500 เมตร

ประวัติเจ้าพ่อพญาแล

ประวัติเจ้าพ่อพญาแล
เดิมเป็นคนเวียงจันทน์ ชื่อ ท้าวแล รับราชการอยู่ในวังทำหน้าที่เป็นพระพี่เลี้ยงราชบุตรของเจ้าอนุวงศ์
ราวปี ๒๓๖๐ ไม่ปรากฎเหตุใด ท้าวแลออกจากราชสำนัก อพยพครอบครัวและสมัครพรรคพวกประมาณร้อยกว่าคนเศษ ข้ามโขงเดินทางพำนักเมืองหนองบัวลำภู จากนั้นหาที่ใหม่ บ้านน้ำขุ่น หนองอีจาน ลำตะคลอง บ้านชีลอง อ.เมือง ชัยภูมิ
     ท้าวแลเป็นผู้มีความสามารถ ซื่อสัตย์ สุจริต และมีบุคคลิกพิเศษกว่าคนอื่นๆ จึงได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าปกครองแบบพี่น้อง และมิได้ลืมบุญคุณเจ้านายเดิม จึงรวบรวมเครื่องบรรณาการนไปถวายเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ ท่านเห็นความดีความชอบจึงโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็น "ขุนภักดีชุมพล"
ปี ๒๓๖๕ ท่านอพยพตั้งถิ่นฐานใหม่อยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากับหนองหลอด มีน้ำอุดมสมบูรณ์ เหมาะที่จะตั้งเมืองใหญ่ ชื่อบ้านหลวง
       ต่อมาขุนภักดีชุมพล ไม่ยอมส่งส่วยให้ทางเวียงจันทน์อีก เพราะเห็นว่าเวียงจันทน์ก็เป็นประเทศราชประเทศสยามตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จึงเข้าหาเจ้าพระยานครราชสีมา อาสาส่งส่วยทูลเกล้าให้ทางกรุงเทพฯ ถวายในรัชกาลที่ ๓
      พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านหลวงขึ้นเป็น เมืองชัยภูมิ ตั้งให้ขุนภักดีชุมพล เป็นพระยาภักดีชุมพล(แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก 
     ปี ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์และราชบุตร คิดกบฎบุกยึดหัวเมืองต่างๆ หลอกว่าเดินทัพผ่านมาเข้าช่วยกรุงเทพรบกับอังกฤษ จนยึดเมืองราชสีมาได้ ต่อมาความแตกได้ต้อนผู้คนกลับเวียงจันทน์ เมื่อถึงทุ่งสัมฤทธิ์ นำโดย คุณหญิงโม ได้ลุกฮือต่อสู้ ฝ่ายพระยาแลภักดีชุมพลพร้อมชาวเมืองสี่มุม ได้ยกทัพออกไปช่วยรบกับเจ้าอนุวงศ์แตกพ่าย
     เจ้าสุทธิสาร ราชบุตรเขย ล่าถอยยึดเมืองชัยภูมิ เมืองภูเขียว เป็นด่านสุดท้ายต่อต้านกองทัพกรุงเทพฯ และได้จับพระยาภักดีชุมพล ท่านยอมให้จับไม่ขัดขืนเพราะมีกำลังน้อยกว่า และไม่ต้องการให้ไพล่พลตนต้องล้มตาย ทหารเจ้าอนุวงศ์จึงประหารชีวิต ณ บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ ริมหนองปลาเฒ่า ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งศาลเจ้าพ่อพญาแลในปัจจุบัน.....
ประชาชนในครั้งนั้นได้ยกย่องเชิดชูให้ขนานนามพระยาภักดีชุมพล(แล)ว่า เจ้าพ่อพญาแล หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ตั้งแต่นั้นมา.....